คุณรู้จัก AEC หรือไม่ ?

สมาคมศิษย์เก่า : เกวลี

08-2555-Page-3-1

AEC ย่อมาจาก ASEAN ECONOMIC COMMUNITY คือประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน จริงๆ แล้วมันคืออะไรล่ะ เกี่ยวข้องกับเราอย่างไร เรามาหาคำตอบ อย่างคร่าวๆ กันดูว่ามีความเป็นมา และจะเป็นไปอย่างไรนะครับ

 

AEC เป็นการพัฒนามาจาก  ASEAN  ซึ่งก่อกำเนิดมาจาก การรวมตัวของ ๕ ประเทศคือ ไทย (Thailand) มาเลเซีย

(Malaysia) สิงคโปร์ (Singapore) อินโดนีเซีย (Indonesia) ฟิลิปปินส์ (Philippine) ต่อมา บรูไน (Bruni) ก็เข้าร่วม เป็นประเทศที่ ๖ และ เมื่ออยี่สิบกว่าปีที่ผ่านมา เวียดนาม (Vietnam) ลาว (Lao PDR) กัมพูชา (Cambodia) และพม่า (Myanmar) (เรียก ๔ ประเทศนี้ว่า CLMV) จึงได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของ ASEAN รวมเป็น ๑๐ ประเทศ และไม่แน่ว่าในอนาคตติมอร์ตะวันออก (East Timore) (แยกมาจากอินโดนีเซีย) อาจจะเข้าร่วมเป็นสมาชิกประเทศที่ ๑๑ ก็ได้ เพราะขณะนี้อยู่ในสถานะของสังเกตการณ์ (Observer)

 

คุณรู้จัก AEC หรือไม่ ?

ารรวมตัวเป็น AEC  ก็เพื่อพัฒนาให้แต่ละประเทศสมาชิกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ทำมาค้าขาย การไปมาหาสู่กันทางด้านการค้า เป็นไปได้อย่างสะดวก  โดยไม่มีภาษีของสินค้าเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งทำให้สินค้าถูกลง ซึ่งขณะนี้ ๖ ประเทศสมาชิก ยกเว้น CLMV  ก็สามารถส่งสินค้าให้แก่กัน โดยไม่มีภาษี และข้อตกลงก็คือว่า ทุกประเทศสมาชิกจะต้องไม่เก็บภาษีสินค้านำเข้าแก่กันใน ปี ๒๕๕๘ (2015) แต่จะอย่างไรก็ตาม ยังมีสินค้าบางประเภทที่ประเทศ

สมาชิกได้สงวนไว้ที่จะเก็บภาษีนำเข้า (Sensitive Products List) เช่น สินค้าเกษตรบางชนิด แต่มีระยะเวลา เมื่อพ้นระยะเวลานั้นแล้ว จะไม่สามารถเก็บภาษีนำเข้าได้ นอกเหนือจากสินค้าแล้ว ยังมีภาคบริการ การเงิน และการลงทุน

เข้าไปเกี่ยวข้องด้วยโดยให้ มีการเปิดเสรีได้อย่างเต็มที่ ที่น่าสังเกตคือ บริษัทข้ามชาติที่มีการจดทะเบียนในกลุ่มประเทศ ASEAN ก็สามารถใช้สิทธิ์เดียวกันนี้ได้ นอกจากนั้นยังมีการเปิดเสรีในภาคแรงงานในเบื้องต้น เป็นการเปิดให้แรงงานฝีมือบางประเภท เช่น แพทย์ วิศวกร นักบัญชี เข้าไปทำงานในกลุ่มประเทศ AEC ได้อย่างเสรี ส่วนแรงงานประเภทอื่น ๆ คงจะตามมาในไม่ช้า ที่สำคัญคือ แรงงานไร้ฝีมือจะเอาไปไว้ที่ไหน

 

ดังที่กล่าวข้างต้น การรวมกลุ่มประเทศเป็น AEC นั้นเป็นการเปิดเสรีให้กลุ่มประเทศไปมาหาสู่กันอย่างสะดวก ซึ่งดูเหมือนว่า เป็นสิ่งที่ดีมาก แต่ก็ยังมีอีกหลายสิ่งอย่างที่เป็นอุปสรรคอย่างมาก ต่อการดำเนินการ เช่น มาตรฐานสินค้าอุตสาหกรรม มาตรฐานความปลอดภัย หรือเรียกว่าอุปสรรคจากที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาษี (Non TariffBarriers – NTBs) เป็นต้น ซึ่งแต่ละประเทศ ก็มีการกำหนดมาตรฐานสินค้าที่จะเข้าไปจำหน่ายในประเทศของตน ด้วยเหตุนี้ คณะกรรมการ

จากประเทศสมาชิก กำลังดำเนินการเพื่อหามาตรฐานกลาง ที่เรียกว่า AHEEER (อาเฮียนะครับ ไม่ใช่อาตี๋) เพื่อให้ทุกประเทศนำไปปฏิบัติ และให้สอดคล้องกับความต้องการของตน ผมเชื่อว่า บทความนี้พอมีประโยชน์บ้าง แต่ยังไม่จบนะครับเพราะเนื้อที่น้อย โอกาสหน้า ผมก็คงจะเล่าเพิ่มเติมจากนี้ รวมถึงข้อตกลงของ กลุ่ม ASEAN กับประเทศอื่นๆ หากท่านใดมีคำถามขอให้ส่งมายังที่ทำการสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีได้ตลอดเวลา ชั้น ๒ ห้องพยาบาล

08-2555-Page-3

คุณรู้จัก AEC หรือไม่ ?
1.4 MiB
406 Downloads
รายละเอียด

 

Comments are closed.