ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN ECONOMIC COMMUNITY – AEC ภาค ๒)

สวัสดีท่านผู้อ่านโดยเฉพาะอย่างยิ่ง น้องๆ ทุกคน ในบทความครั้งที่แล้ว ได้กล่าวถึงเรื่องของ AEC ว่าน้องๆ รู้จักกันมากน้อยเพียงใด และได้กล่าวอย่างคร่าวๆ ว่า การเป็น AEC มีความเป็นมาอย่างไรและกำลังจะเป็นไปอย่างไรในอีก สองปีครึ่ง นับจากนี้ไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการเปิดเสรีในภาคธุรกิจและการเปิดเสรีทางด้านแรงงาน (จะกล่าวถึงเรื่องนี้โดยเฉพาะในวรรคต่อไป)

การเปิดเสรีหมายถึงการที่ไม่มีภาษีหรืออากรนำเข้าของสินค้าจากประเทศสมาชิกและจากประเทศที่มีความตกลงร่วมกันทาง FTA แต่ข้อกำหนดของ AEC มีมากกว่านั้น รวมถึงภาคการลงทุน อุตสาหกรรม การบริการ การเงิน การศึกษา และอื่นๆ ในประเทศสมาชิกของ AEC และมีที่เหนือกว่าอีกประการหนึ่งก็คือ ไม่ว่า ชาติใดก็ตาม หากมีบริษัทที่ทำการจดทะเบียนบริษัทในประเทศกลุ่มสมาชิกแล้ว จะถือว่า บริษัทนั้นเป็นบริษัททีมีสัญชาติ ASEAN จึงสามารถทำธุรกรรมต่างๆ ตามข้อตกลงของความเป็น AEC ได้อย่างสมบูรณ์ อีกทั้ง บริษัทใดที่เข้าไปลงทุนในประเทศสมาชิก สามารถถือหุ้นได้สูงถึง ๗๐% อีก ๓๐% ถือหุ้นโดยคนท้องถิ่นในประเทศนั้น

ด้วยข้อตกลงเหล่านี้ จะทำให้การดำเนินธุรกิจ เพื่อให้เป็นประชาคมเศรษฐกิจ เป็นไปได้อย่างสะดวก และคาดว่า อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจในกลุ่ม ASEAN จะสูงขึ้นกว่า ๓ เท่าภายในระยะเวลา ๕ ปี แต่ประเด็นก็คือว่า ประชาชนไม่มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ของการเป็น AEC ที่กำลังจะมาถึงเรามาคุยกันถึงส่วนที่เกี่ยวข้องที่เราอาจจะต้องทำ ธุรกิจใน AEC พร้อมทั้งการเตรียมตัวใน ภาคธุรกิจและแรงงาน มีหลายสิ่งที่เหมือนกัน ในเบื้องต้น ขอกล่าวโดยรวม ดังนี้ ๑. ศึกษาผลิตภัณฑ์ การลงทุน อุตสาหกรรม การเงิน การบริการ และแรงงาน ของการเปิดเสรี ๒. ศึกษากฎระเบียบ ข้อบังคับ ของ AEC จากข้อที่ ๑ เพื่อทำการเตรียมการด้านเอกสารให้สอดคล้องกับกฎระเบียบ หรือข้อบังคับนั้นๆ ๓. ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องของแต่ละประเทศ ให้เข้าใจพอสมควร ซึ่งเป็นกฎหมายที่ไม่เกี่ยวกับ AEC เช่น ห้ามเคี้ยวหมากฝรั่งในสิงคโปร์ เป็นต้น ๔. ศึกษา ศาสนา ประเพณี และวัฒนธรรมของแต่ละประเทศให้เข้าใจ เพราะมีความเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคโดยตรง

กล่าวคือ ๑๐ ประเทศ ASEAN  แบ่งประเทศที่นับถือศาสนาหลักๆ ดังนี้ ศาสนาพุทธมี ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนามและสิงคโปร์ (สิงคโปร์มีผู้นับถือศาสนาอิสลาม ใกล้เคียงกับศาสนาพุทธ) ดังนั้น ห้าประเทศดังกล่าว จึงมีความคล้ายคลึงกันทางด้านประเพณี และวัฒนธรรม เช่น ประเพณีสงกรานต์ พิธีทางศาสนา ศาสนาอิสลาม มี มาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน มีจำนวนผู้นับถือศาสนาอิสลามมากที่สุดในกลุ่มประเทศสมาชิก ASEAN ศาสนาคริสต์ มี ฟิลิปปินส์

ในกรณีที่เป็นบริษัทการค้า (Trading Firm)  ศึกษาที่ตั้งของบริษัท (ในประเทศสมาชิก) การตลาด การเงินและบัญชี พนักงาน ศึกษาแหล่งผลิตภัณฑ์ และระบบ Logistic ประมาณการจำหน่าย ต้นทุนค่าใช้จ่ายที่จำเป็น ไฟฟ้า ประปา อื่นๆ ของประเทศ ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค และข้อกำหนดทางด้านศาสนา ประเพณี และวัฒนธรรมศึกษาถึงการมีส่วนร่วมกับสังคม (Corporate Social Responsibility – CSR)  ในกรณีที่เป็นอุตสาหกรรม (Industrial) ศึกษาวัตถุดิบ และต้นทุน รวมถึงแหล่งของวัตถุดิบนั้น และระบบ Logistic ศึกษาการลงทุนที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงกฎระเบียบที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และการมีส่วนร่วมกับสังคม (CSR) ศึกษาปริมาณแรงงาน และทักษะของแรงงาน ในประเทศนั้นๆ ศึกษาความเหมาะสมของการจัดจำหน่ายในประเทศนั้น

ภาษา (Languages) ภาษาที่ใช้ใน AEC นั้น ภาษาอังกฤษ (English) ถูกกำหนดเป็นภาษากลางของการสื่อสาร แน่นอนว่า ภาษาอังกฤษ ไม่ใช่ภาษาเดียวที่มีความสำคัญสำหรับการสื่อสารในยุคปัจจุบัน ภาษาจีนกลาง (Chinese – Mandarin) เป็นภาษาที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันนัก เพราะว่า ประเทศจีนในปัจจุบัน มีการค้าขายไปทั่วโลก รวมถึงมีข้อตกลง FTA กับ ASEAN จึงทำให้มีบทบาทมากต่อ AEC ที่กำลังจะมาถึง เราคงจะต้องคุยกันถึงเรื่องของ “ภาษา” และการฝึกฝนกันดีกว่านะครับ

ภาษาอังกฤษ (English) เป็นที่น่าสังเกตว่า คนไทยเรานั้น เรียนภาษาอังกฤษตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาจวบจนจบปริญญาตรี แต่ที่แปลกก็คือ ไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ดี แต่สามารถที่จะเขียนได้บ้าง เมื่อเทียบเป็น % แล้ว จะพบว่า ไม่สามารถพูดได้มี กว่า ๘๕% แต่เขียนได้มีกว่า ๒๐% ซึ่งหมายความว่า หากให้เขียนเพื่อสื่อความหมายก็ยังพอได้บ้าง เหตุผลก็คือ คนไทยกลัว

2012-02_001

2012-02 ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN ECONOMIC COMMUNITY - AEC ภาค ๒)
1.3 MiB
468 Downloads
รายละเอียด

Comments are closed.